สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
31 ตุลาคม 2565

0


สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน

๑.  ด้านกายภาพ

     ๑.๑ ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล

           เทศบาลเมืองดอนสัก เป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอดอนสักและส่วนราชการต่างๆ ของอำเภอดอนสัก

มีพื้นที่รับผิดชอบ ๒๑ ตารางกิโลเมตร จำนวน  ๖ หมู่บ้าน ได้แก่

๑) หมู่ที่ ๓ ตำบลดอนสัก 

๒) หมู่ที่ ๕ ตำบลดอนสัก 

๓) หมู่ที่  ๖ ตำบลดอนสัก

๔) หมู่ที่ ๗ ตำบลดอนสัก

๕) หมู่ที่ ๘ ตำบลดอนสัก  

๖) หมู่ที่  ๙ (บางส่วน) ตำบลดอนสัก  อำเภอดอนสัก จังหวัดสุราษฎร์ธานี 

เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ ได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาเทศบาล  จึงได้จัดตั้งชุมชนขึ้น  จำนวน ๑๑  ชุมชน  และในแต่ละชุมชนได้มีการเลือกตั้งประธานชุมชนและคัดเลือกคณะกรรมการชุมชน เพื่อเป็นตัวแทนของภาคประชาชนประสานความร่วมมือด้านต่างๆ กับเทศบาล ในการพัฒนาท้องถิ่นโดยยึดชุมชนเป็นศูนย์กลาง ประกอบด้วย

          ๑. ชุมชนบ้านเกาะแรต   ตั้งอยู่บนพื้นที่บ้านเกาะแรต หมู่ที่ 3 ตำบลดอนสัก ทั้งหมู่บ้านอยู่ทาง     ทิศเหนือของเทศบาลเมืองดอนสัก  ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนไทยเชื้อสายจีน และประกอบอาชีพประมง สถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่ในชุมชนเกาะแรต  ได้แก่ 

              -  สะพานเฉลิมสิริราช (แหลมลื่น-เกาะแรต)   

                 -  ศาลเจ้าบ้านเกาะแรต

          ๒. ชุมชนเทศบาล ตั้งอยู่บน พื้นที่หมู่ที่ ๕ ตำบลดอนสัก (บางส่วน) ด้านทิศเหนือ ประชากรส่วนใหญ่เป็นคนภาคใต้ทั่วไป และมีบางส่วนที่ย้ายถิ่นฐานมาจากจังหวัดอื่น โดยทั่วไปจะประกอบอาชีพรับราชการเนื่องจากพื้นที่ชุมชนเป็นที่ตั้งของสถานที่ราชการ    ที่สำคัญซึ่งมีบ้านพักของราชการอยู่จำนวนมาก โดยประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่รับราชการ ก็จะอาศัยอยู่บ้านพักของทางราชการและบ้านเช่าที่อยู่ในชุมชน   สถานที่สำคัญ ที่ตั้งอยู่ในชุมชนเทศบาล ได้แก่ 

              -  ที่ว่าการอำเภอดอนสัก  

                -  สถานีตำรวจภูธรดอนสัก

                -  โรงพยาบาลดอนสัก

                -  หมวดการทางดอนสัก

                -  บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สาขาดอนสัก

                -  บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาดอนสัก

                -  การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขาดอนสัก

               -  การประปาส่วนภูมิภาค สาขาย่อยดอนสัก 

               -  โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ๑ (ดอนสักผดุงวิทย์)

               -  สำนักงานเทศบาลเมืองดอนสัก

              -  โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองดอนสัก

              -  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองดอนสัก

              -  โรงเรียนอนุบาลขวัญยืน

              -  พิพิธภัณฑ์ปลาหิน

              -  ศูนย์สุขภาพสี่พันครัวเรือนเทศบาลเมืองดอนสัก

          ๓. ชุมชนทางข้าม ตั้งอยู่บนพื้นที่ หมู่ที่ ๕ ตำบลดอนสัก (บางส่วน) ค่อนไปด้านทิศตะวันตก เป็นที่ตั้งและศูนย์กลางการพาณิชย์ ของเทศบาลของชุมชนหนึ่ง มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนไทยภาคใต้ทั่วไป โดยจะประกอบอาชีพค้าขายและรับจ้างเป็นหลัก สถานที่สำคัญที่ตั้งในชุมชน
ทางข้าม  ได้แก่

               -  ตลาดสดเทศบาล

                 -  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

                 -  ท่าเทียบเรือเทศบาล

                -  สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดอนสัก

                -  สำนักงานเกษตรอำเภอดอนสัก

                -  สถานธนานุบาลเทศบาลเมืองดอนสัก

          ๔. ชุมชนทองไมล์  ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลดอนสัก (บางส่วน) ทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ของเทศบาลเมืองดอนสัก  ประชาชน ในชุมชนส่วนใหญ่จะมีฐานะค่อนข้างจะยากจน โดยประกอบอาชีพรับจ้าง และประมงเป็นหลัก สถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่ในชุมชนทองไมล์  ได้แก่

              -  วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์

                -  โรงเรียนอนุบาลวัดเขาสุวรรณประดิษฐ์

                -  ท่าเทียบเรือเอนกประสงค์ดอนสัก (แหลมทวด)

                -  โรงเรียนอนุบาลชุลีกร

                -  สถานีวิทยุชุมชนดอนสัก  104 MHz

          . ชุมชนบ้านคราม ตั้งอยู่หมู่ที่ ๕ ตำบลดอนสัก (บางส่วน) เป็นชุมชนที่ตั้งอยู่ใจกลางเมืองบริเวณชุมชนย่านการพาณิชย์ของเทศบาลเมืองดอนสัก ประชาชนอาศัยอยู่จำนวนมาก ประกอบอาชีพค้าขายและรับจ้างเป็นหลัก  สถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่ในชุมชนบ้านคราม  ได้แก่

              -  สนามกีฬาพระกิตติมงคลพิพัฒน์

                -  ธนาคารกรุงเทพ

                -  ธนาคารออมสิน

                -  ธนาคารกรุงไทย

                -  ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยฯ และห้องสมุดประชาชน

          ๖. ชุมชนโพธิ์ทอง ตั้งอยู่บนพื้นที่ของ หมู่ที่ ๕ ตำบลดอนสัก (บางส่วน) ค่อนไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเทศบาลเมืองดอนสัก เป็นชุมชนที่มีประชากรมากที่สุดของเทศบาลเมืองดอนสัก ประชาชนส่วนใหญ่จะเป็นคนต่างถิ่นที่ย้ายถิ่นฐานมาประกอบอาชีพต่างๆ ในเขตเทศบาลเมืองดอนสัก  โดยทั่วไปจะประกอบอาชีพรับจ้าง ตามสถานประกอบการต่างๆ เช่น แพปลา ซึ่งมีอยู่จำนวนมากในเขตเทศบาลเมืองดอนสัก สถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่ในชุมชนโพธิ์ทอง  คือ  อู่ต่อเรือลุงทิ้ง

         .  ชุมชนบางนางบน ตั้งอยู่บนพื้นที่ของหมู่ที่ ๕ ตำบลดอนสัก (บางส่วน) ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เป็นชุมชนที่มีประชาชนอาศัยอยู่จำนวนไม่มากนัก ประชาชนส่วนใหญ่เป็นคนต่างพื้นที่ย้ายถิ่นฐานมาประกอบอาชีพต่างๆ โดยทั่วไปประชาชนในชุมชนบางนางบนจะประกอบอาชีพรับจ้าง เป็นชุมชนที่ประชาชนส่วนใหญ่มีฐานะค่อนข้างจะยากจน

              ๘. ชุมชนบ้านท้องอ่าว ตั้งอยู่บนพื้นที่บ้านท้องอ่าว หมู่ที่ ๖ ตำบลดอนสัก ทั้งหมู่บ้าน ซึ่งอยู่ค่อนไปทางทิศตะวันออกของเทศบาลเมืองดอนสัก  ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของหมู่บ้านมีพื้นที่ติดกับทะเล
อ่าวไทย  ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้จะเป็นภูเขาและที่ราบเชิงเขา ทำให้ประชาชนในชุมชนท้องอ่าว ประกอบอาชีพทั้งการประมง และเกษตรกรรม มีบางส่วนที่ประกอบอาชีพรับจ้าง และค้าขาย  สถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่ในชุมชนท้องอ่าว  ได้แก่

               -  วัดท้องอ่าว

                 -  โรงเรียนเทศบาลเมืองดอนสัก ๑ (วัดท้องอ่าว)

               -  ตลาดลานค้าชุมชนบ้านท้องอ่าว

          ๙. ชุมชนบ้านปากดอนสัก ตั้งอยู่ทางทิศใต้ ของเทศบาลเมืองดอนสัก เป็นที่ตั้งของหมู่ที่ ๗ ตำบลดอนสัก ทั้งหมู่บ้าน พื้นที่คล้ายกับเกาะ เนื่องจากการเดินทางติดต่อมีเพียงทางเรือ โดยเดินทางข้ามคลองดอนสักเพียงแห่งเดียว ส่วนพื้นที่โดยรอบเป็นทะเล และป่าชายเลน ประชาชนจะประกอบอาชีพประมงเป็นหลัก มีบางส่วนประกอบอาชีพรับจ้าง ประชาชนในพื้นที่เป็นคนไทยที่ย้ายภูมิลำเนามาจากเพชรบุรีและพื้นที่ใกล้เคียง  สถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่ในชุมชนบ้านปากดอนสัก   ได้แก่

              -  เขาชะโงก

                -  โรงเรียนบ้านปากดอนสัก

          ๑๐. ชุมชนบ้านบางน้ำจืด  ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกสุดของเทศบาลเมืองดอนสัก บนพื้นที่หมู่ที่ ๘ ตำบลดอนสัก            ทั้งหมู่บ้าน  ประชาชนส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพเกษตรกรรม และรับจ้างตามโรงงานอุตสาหกรรม และท่าเรือเฟอร์รี่  สถานที่สำคัญที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ชุมชนบ้านบางน้ำจืด  ได้แก่

              -  วัดวิสุทธิชลาราม

                -  โรงเรียนชุมชนวัดวิสุทธิชลาราม

                -  ท่าเรือ ซีทรานเฟอร์รี่  (เดินทางไป เกาะสมุย  และ เกาะพะงัน)

                -  บริษัท ซีฮอร์ส จำกัด (มหาชน) สาขาดอนสัก

       ๑๑.  ชุมชนก้าวเจริญ ตั้งอยู่บนพื้นที่ของหมู่ที่ ๙ (บางส่วน) ตำบลดอนสัก ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเทศบาลเมืองดอนสัก เป็นชุมชนชาวประมง ประชากรมีสภาพปัญหาที่คล้ายๆกัน คือ ปัญหาที่ดินทำกิน เนื่องจากพื้นที่ของชุมชนเป็นเขตป่าชายเลนไม่สามารถออกกรรม สิทธิ์ใดๆได้ 

               เทศบาลเมืองดอนสัก มีพื้นที่รับผิดชอบ ๒๑ ตารางกิโลเมตร  และตามแผนที่แนบท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เทศบาลเมืองดอนสัก  มีพื้นที่รับผิดชอบรวม ๒๑.๐๓ ตารางกิโลเมตร  มีอาณาเขต ดังนี้

            ทิศเหนือ   ติดกับ อ่าวบ้านดอน  โดยแหลมทวดอยู่เหนือสุด

                      ทิศใต้      ติดกับ เขานูด, เขาน้อย, บ้านห้วยเสียด  หมู่ที่  ๙  ตำบลดอนสัก

              ทิศตะวันออก   ติดกับ หมู่ที่  ๑๐  บ้านนางกำ  ตำบลดอนสัก  หรือจดหลักเขตที่  ๔  เลียบเส้นแบ่งเขตหมู่ที่  ๘ ตำบล.ดอนสัก  กับหมู่ที่  ๑๐  ตำบลดอนสัก

                  ทิศตะวันตก    ติดกับ  อ่าวบ้านดอน  ด้านปากอ่าวดอนสัก  เขาชะโงก จดหลักเขตที่ ๗  เลียบตรงไป ทางทิศเหนือถึงเชิงเขาชะโงกด้านตะวันตก

            ๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ

                    เทศบาลเมืองดอนสัก มีที่ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันออกของจังหวัดสุราษฎร์ธานี พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มริมฝั่งทะเล ซึ่งสูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่เกิน ๒๐ เมตร มีคลองปากดอนสักเป็นคลองสำคัญ สองฝั่งคลองเป็นป่าชายเลน  สภาพพื้นที่เหมาะที่จะพัฒนาเป็นเมืองศูนย์กลางการประมง และพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางท่าเทียบเรือ ในขณะเดียวกันเทศบาลเมืองดอนสัก ยังเป็นเส้นทางคมนาคมที่สามารถเชื่อมโยงไปยังท่าเทียบเรือจังหวัดระนอง จังหวัดภูเก็ตหรือเมืองฝั่งตะวันตกของภาคใต้  ซึ่งสามารถขนถ่ายสินค้าได้รวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลา  รวมทั้งสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวทางทะเลอ่าวไทย เนื่องจากเทศบาลเมืองดอนสักเป็นเส้นทางผ่านไปยังพื้นที่ดังกล่าว และมีท่าเรือเฟอร์รี่และเรือด่วนที่จะเดินทางไปถึง เกาะสมุย  เกาะพะงัน  เกาะเต่า  และหมู่เกาะต่าง ๆ ในอ่าวไทย    ส่วนพื้นที่ทางทิศตะวันออกเป็นที่ราบเชิงเขา  ลักษณะภูมิประเทศเหมาะแก่การทำการเกษตร  เช่น  ทำสวนยาง  สวนผักผลไม้ ฯลฯ 

     ๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ

          สภาพภูมิอากาศพื้นที่ของเทศบาลเมืองดอนสัก  เป็นแบบร้อนชื้นใกล้ศูนย์สูตร  มีอากาศอบอุ่นตลอดทั้งปี  อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ  ๓๐  องศาเซลเซียส  มี  ๒  ฤดู  คือ  ฤดูร้อนและฤดูฝน  

     .๔ ลักษณะของดิน

          ลักษณะของดินในเขตเทศบาลเมืองดอนสักแบ่งกลุ่มดินตามสมรรถนะของดิน อยู่ในกลุ่มดินชายทะเลที่เหมาะแก่การปลูกมะพร้าว และ เป็นกลุ่มดินนา ซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูกปาล์มน้ำมัน และยางพารา และมีบางพื้นที่ หมู่ที่ ๗ ซึ่งที่เป็นดินป่าชายเลน เพราะบริบทของพื้นที่มีทะเลล้อมรอบ

๒. ด้านการเมือง/การปกครอง

     ๒.๑ เขตการปกครอง         

     เทศบาลเมืองดอนสัก เดิมเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในรูปแบบสุขาภิบาล (สุขาภิบาล ดอนสัก) 
ที่จัดตั้งตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ ๗ กันยายน  ๒๕๑๓ ต่อมาได้เปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบล ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม ๒๕๔๒  และได้เปลี่ยนแปลงจากเทศบาลตำบลดอนสัก ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่  ๑๓ มีนาคม  ๒๕๕๕  เรื่อง เปลี่ยนแปลงฐานะเทศบาลเมืองดอนสัก  อำเภอดอนสัก  จังหวัดสุราษฎร์ธานี  เป็นเทศบาลเมืองดอนสัก  โดยให้มีผลตั้งแต่  ๒๑  มิถุนายน  ๒๕๕๕ เป็นต้นไป 

     ๒.๒ การเลือกตั้งเทศบาลเมืองดอนสัก

          ในวันที่ ๒๘ มีนาคม ๒๕๖๔ เทศบาลเมืองดอนสัก  ได้จัดการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และนายกเทศมนตรีเมืองดอนสัก ตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น ..๒๕๔๕  ซึ่งเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรงเป็นครั้งแรกภายหลังเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลเมือง     ดอนสัก  โดยแบ่งเขตเลือกตั้งออกเป็น   เขต  คือ

            เขตเลือกตั้งที่  ๑ มีทั้งหมด ๕ ชุมชน ประกอบด้วย ชุมชนบางน้ำจืด  ชุมชนท้องอ่าว  ชุมชนเกาะแรต   ชุมชนเทศบาล และชุมชนโพธิ์ทอง บางส่วน (หมู่บ้านศรีสุบรรณ)

              เขตเลือกตั้งที่  ๒  มีทั้งหมด  ๓  ชุมชน  ประกอบด้วย  ชุมชนทองไมล์  ชุมชนทางข้าม และชุมชนบ้านปากดอนสัก  

          เขตเลือกตั้งที่ ๓  มีทั้งหมด ๔ ชุมชน  ประกอบด้วย  ชุมชนบ้านคราม  ชุมชนโพธิ์ทองบางส่วน(ยกเว้นหมู่บ้านศรีสุบรรณ)  ชุมชนบางนางบน และชุมชนก้าวเจริญ  

ข้อมูลการใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและนายกเทศมนตรีเมืองดอนสัก ประจำปี ๒๕๖๔

     ๑)  ผลการใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งนายกเทศมนตรีเมืองดอนสัก

จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้งในบัญชีรายชื่อ

จำนวนผู้มีสิทธิฯที่มาขอแสดงตนขอรับบัตรฯ

จำนวนบัตรดี

จำนวนบัตรเสีย

จำนวนบัตรไม่ประสงค์จะลงคะแนน

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

๙,๑๒๑

๗,๔๒๐

๘๑.๓๕

๗,๑๖๙

๙๐.๐๒

๑๙๕

๒.๖๓

๕๐

๐.๗๕

                   

    )  ผลการใช้สิทธิ์ลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเมืองดอนสัก

เขตเลือกตั้งที่

จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง

จำนวนผู้มีสิทธิฯที่มาขอแสดงตนขอรับบัตรฯ

 

จำนวนบัตรดี

 

จำนวนบัตรเสีย

จำนวนบัตรไม่ประสงค์จะลงคะแนน

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

๓,๐๖๕

๒,๔๙๐

๘๑.๒๔

๒,๓๖๗

๙๕.๐๐

๙๘

๓.๙๔

๒๕

๑.๐๐

๓,๐๔๔

๒,๔๔๒

๘๐.๒๒

๒,๒๖๙

๙๔.๐๒

๑๒๐

๔.๙๑

๒๖

๑.๐๐

๒,๙๕๙

๒,๔๔๔

๘๒.๐๐

๒,๓๐๑

๙๔.๒๓

๑๐๘

๔.๔๒

๓๓

๑.๓๕

 

ที่มา  : ศูนย์อำนวยการการเลือกตั้งเทศบาลเมืองดอนสัก  ข้อมูล  ปี ๒๕๖๔

     ตางรางแสดงการใช้สิทธิ์เลือกตั้งของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองดอนสัก

หมู่บ้าน

จำนวนประชากร (หน่วย : คน)

จำนวนครัวเรือน

ชาย

หญิง

รวม

(หน่วย : หลัง)

หมู่ที่ ๓

๑๖๙

๑๘๕

๓๕๔

๑๐๖

หมู่ที่ ๕

๓,๖๕๖

๓,๘๙๑

๗,๕๔๗

๔,๐๗๐

หมู่ที่ ๖

๖๔๗

๖๓๗

๑,๒๘๔

๕๐๖

หมี่ที่ ๗

๖๒๓

๖๕๔

๑,๒๗๗

๓๗๓

หมู่ที่ ๘

๔๗๒

๕๔๖

๑,๐๑๘

๕๐๑

หมู่ที่ ๙(บางส่วน)

๒๘๙

๒๗๘

๕๖๗

๑๖๐

รวม

๕,๘๕๖

๖,๑๙๑

๑๒,๐๔๗

๕,๗๑๖

 

ที่มา : สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองดอนสัก  ณ วันที่  ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔

 

ตารางแสดงสถิติจำนวนครัวเรือน ในช่วง ๑๐ ปี (พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๖๔)

หมู่บ้าน

จำนวนครัวเรือน (หน่วย : หลัง)  ระหว่างปี พ.ศ.๒๕๕๕-๒๕๖๔

 

๒๕๕๕

๒๕๕๖

๒๕๕๗

๒๕๕๘

๒๕๕๙

๒๕๖๐

๒๕๖๑

๒๕๖๒

๒๕๖๓

๒๕๖๔

หมู่ที่ ๓

๙๕

๙๖

๙๗

๑๐๒

๑๐๓

๑๐๓

๑๐๕

๑๐๕

๑๐๖

๑๐๖

หมู่ที่ ๕

๓,๔๑๘

๓,๕๔๓

๓,๖๕๕

๓,๗๓๑

๓,๗๗๕

๓,๘๒๓

๓,๘๕๒

๓,๙๑๑

๔,๐๘๐

๔,๐๗๐

หมู่ที่ ๖

๓๖๗

๓๙๔

๔๑๑

๔๓๐

๔๓๗

๔๖๒

๔๗๗

๔๙๑

๕๐๓

๕๐๖

หมู่ที่ ๗

๓๖๐

๓๖๒

๓๖๖

๓๕๗

๓๕๘

๓๕๙

๓๖๒

๓๗๑

๓๗๓

๓๗๓

หมู่ที่ ๘

๔๐๗

๔๑๖

๔๒๘

๔๓๙

๔๔๕

๔๕๔

๔๕๖

๔๗๐

๔๙๒

๕๐๑

หมู่ที่ ๙

(บางส่วน)

๑๓๔

๑๔๗

๑๕๓

๑๕๓

๑๕๕

๑๕๘

๑๕๘

๑๕๘

๑๕๙

๑๖๐

รวม

๔,๗๙๑

๔,๙๕๘

๕,๑๑๐

๕,๒๑๒

๕,๒๗๓

๕,๓๕๙

๕,๔๑๙

๕,๕๐๖

๕,๗๑๓

๕,๗๑๖

 

ที่มา : สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองดอนสัก  ณ วันที่  ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๖๔

จำนวนประชากร (๓ ปี หลังสุด)

หมู่ที่

ปี ๒๕๖๒

ปี ๒๕๖๓

ปี ๒๕๖๔

ชาย

หญิง

รวม

ชาย

หญิง

รวม

ชาย

หญิง

รวม

๑๙๓

๒๐๓

๓๙๖

๑๖๘

๑๘๔

๓๕๔

๑๖๙

๑๘๕

๓๕๓

3663

3880

7543

3,653

3,884

7,537

3,656

3,891

7,547

641

634

1,275

643

638

1281

647

637

1,284

650

669

1319

628

649

1277

623

654

1,277

8

457

534

991

468

539

1007

472

546

1,018

9

294

277

571

291

273

564

289

278

567

ไม่กำหนดชุมชน

29

23

52

29

23

52

29

23

52

รวม

5,927

6,220

12,147

5,880

6,190

12,070

5,885

6,214

12,099

ที่มา : สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองดอนสัก  ณ วันที่  17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

 

สถิติข้อมูลประชากรต่างด้าว ณ วันที่ มกราคม 2564

 

สัญชาติ

ชาย

หญิง

รวม

เมียนมาร์

656

526

1,182

ลาว

119

48

167

กัมพูชา

4

1

5

รวม

779

575

1,354

ที่มา : สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองดอนสัก  ณ วันที่  17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

     Ÿ   สถิติประชากรตามช่วงอายุในเขตเทศบาลเมืองดอนสัก

หมวดอายุ

จำนวนประชากร

อัตราส่วนระหว่างหมวดอายุ

อัตราส่วน

ชาย

หญิง

รวม

ชาย (1)

หญิง (2)

รวม (3)

เพศ

0 - 2  ปี

200

177

377

1.65

1.46

3.11

112.99

3 – 5  ปี

234

225

459

1.93

1.86

3.79

104.00

   6 – 9  ปี

328

312

640

2.71

2.58

5.29

105.13

  10 - 15  ปี

468

478

946

3.87

3.95

7.82

97.91

  16 - 20  ปี

363

391

754

3.00

3.23

6.23

92.84

  21 - 25  ปี

453

454

907

3.75

3.75

7.50

99.78

  26 - 30  ปี

473

444

917

3.91

3.67

7.58

106.53

  31 - 35  ปี

421

433

854

3.48

3.58

7.06

97.23

  36 - 40  ปี

472

532

1,004

3.90

4.40

8.30

88.72

  41 - 45  ปี

475

433

908

3.93

3.58

7.51

109.70

  46 - 50  ปี

444

514

958

3.67

4.25

7.92

86.38

  51 - 55  ปี

445

462

907

3.68

3.82

7.50

96.32

  56 - 59  ปี

295

340

635

2.44

2.81

5.25

86.76

  60 - 69  ปี

528

582

1,110

4.36

4.81

9.17

90.72

  70 - 79  ปี

188

265

453

1.55

2.19

3.74

70.94

  80-100 ปี

97

172

269

0.80

1.42

2.22

56.40

100 ปีขึ้นไป

1

0

1

0.01

0

0.01

0

รวม

5,885

6,214

12,099

48.64

51.36

100

 

ที่มา : สำนักทะเบียนท้องถิ่นเทศบาลเมืองดอนสัก  ณ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2564

หมายเหตุ  :  ช่อง (1)  คำนวณโดย ประชากรชายแต่ละหมวดอายุ  หารด้วย ประชากรรวมทั้งหมด คูณด้วย 100

                   :  ช่อง (2)  คำนวณโดย ประชากรหญิงแต่ละหมวดอายุ  หารด้วย ประชากรรวมทั้งหมด คูณด้วย 100

                   :  ช่อง (3)  คำนวณโดย ประชากรรวมแต่ละหมวดอายุ  หารด้วย ประชากรรวมทั้งหมด คูณด้วย 100

                   :  อัตราส่วนเพศแต่ละหมวดอายุ คำนวณโดย ประชากรชายแต่ละหมวดอายุ หารด้วยประชากรหญิงหมวดอายุนั้นๆ คูณด้วย 100

4. สภาพทางสังคม

          4.1 การศึกษา สถานศึกษาในเขตเทศบาล  แยกได้ดังนี้

          1. โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี  เขต 1 ได้แก่

                (1)  โรงเรียนอนุบาลวัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ ตั้งอยู่ชุมชนทองไมล์ หมู่ที่ 5 ตำบลดอนสัก           จัดการศึกษาในระดับอนุบาล-ประถมศึกษา

          (2) โรงเรียนบ้านปากดอนสัก  ตั้งอยู่ชุมชนปากดอนสัก หมู่ที่ 7 ตำบลดอนสัก จัดการศึกษาในระดับอนุบาล-ประถมศึกษา

                (3) โรงเรียนชุมชนวัดวิสุทธิชลาราม ตั้งอยู่ชุมชนบางน้ำจืด หมู่ที่ 8 ตำบลดอนสัก
จัดการศึกษาในระดับอนุบาล-ประถมศึกษา

          2. โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 (ดอนสักผดุงวิทย์) ตั้งอยู่ชุมชนเทศบาล หมู่ที่ 5 ตำบลดอนสัก
จัดการศึกษาในระดับมัธยมศึกษา และสาขาวิชาชีพต่างๆ

          3. โรงเรียนและสถานศึกษาสังกัดเทศบาลเมืองดอนสัก  จำนวน  4  แห่ง  ได้แก่

               (1)  โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองดอนสัก   ตั้งอยู่ชุมชนเทศบาล  หมู่ที่ 5 ตำบลดอนสัก

               (2)  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล   ตั้งอยู่ที่  ชุมชนเทศบาล  หมู่ที่  5  ตำบลดอนสัก

               (3)  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปากดอนสัก  ตั้งอยู่ที่  ชุมชนปากดอนสัก  หมู่ที่  7 ตำบลดอนสัก

               (4)  โรงเรียนเทศบาลเมืองดอนสัก 1 (วัดท้องอ่าว) ตั้งอยู่ชุมชนท้องอ่าว หมู่ที่ 6 ตำบลดอนสัก จัดการศึกษาในระดับอนุบาล-ประถมศึกษา

          4.   โรงเรียนและสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จำนวน

2 แห่ง  ได้แก่

               (1)  โรงเรียนอนุบาลชุลีกร  ตั้งอยู่ชุมชนทองไมล์  หมู่ที่ 5 ตำบลดอนสัก จัดการศึกษาในระดับอนุบาล-ประถมศึกษา

               (2)  โรงเรียนอนุบาลขวัญยืน ตั้งอยู่ชุมชนเทศบาล หมู่ที่ 5 ตำบลดอนสัก จัดการศึกษาในระดับอนุบาล-ประถมศึกษา

          5. ศูนย์บริการการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอดอนสัก จำนวน 1  แห่ง ตั้งอยู่ชุมชนบ้านคราม  หมู่ที่  5  ตำบลดอนสัก

ตารางสถิตินักเรียน-ครู ในเขตเทศบาลเมืองดอนสัก

ชื่อสถานศึกษา

จำนวนนักเรียนปีการศึกษา

จำนวนครู

ชาย

หญิง

รวม

ชาย

หญิง

รวม

1) โรงเรียนเทศบาลเมืองดอนสัก 1(วัดท้องอ่าว)

59

70

129

2

8

10

2) โรงเรียนชุมชนวัดวิสุทธิชลาราม

111

80

191

1

7

8

3) โรงเรียนบ้านปากดอนสัก

65

56

121

3

8

11

4) โรงเรียนอนุบาลวัดเขาสุวรรณประดิษฐ์

304

286

590

2

22

24

5) โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองดอนสัก

107

94

201

0

5

5

6) โรงเรียนอนุบาลชุลีกร

-

-

-

-

-

-

7) โรงเรียนอนุบาลขวัญยืน

120

146

266

2

17

19

8) โรงเรียนองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุราษฎร์ธานี 1 (ดอนสักผดุงวิทย์)

494

546

1,040

20

25

45

9) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองดอนสัก

15

16

31

0

4

4

10) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปากดอนสัก

65

56

121

3

8

11

รวมทุกสถานศึกษา

1,340

1,350

2,690

33

104

137

ที่มา : ข้อมูลจากโรงเรียนและสถานศึกษาที่ได้จัดส่งข้อมูลมาให้เทศบาลเมืองดอนสัก   หมายเหตุ : โรงเรียนที่ไม่มีข้อมูล (-) ไม่ได้จัดส่งข้อมูลให้เทศบาลเมืองดอนสัก

     4.2  สาธารณสุข

          1. โรงพยาบาลดอนสัก ซึ่งเป็นโรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 1 แห่ง ขนาด 30 เตียง ตั้งอยู่ชุมชนเทศบาล  หมู่ที่ 5 ตำบลดอนสัก  มีบุคลากรที่ให้บริการด้านสาธารณสุข  ดังนี้

ลำดับ

บุคลากร

จำนวนบุคลากร ปี 2564

หมายเหตุ

 

 

ชาย

หญิง

รวม

 

ข้าราชการ

 

 

 

 

1

แพทย์

3

1

4

 

2

ทันตแพทย์ 

1

1

2

 

3

เภสัชกร

3

2

5

 

4

เจ้าพนักงานเภสัชกรรม

-

4

4

 

5

พยาบาลวิชาชีพ

1

39

40

 

6

เจ้าพนักงานเทคนิคการแพทย์

-

-

-

 

7

นักเทคนิคการแพทย์

-

2

2

 

8

เจ้าพนักงานรังสีการแพทย์

-

1

1

 

9

นักวิชาการสาธารณสุข

2

4

6

 

10

แพทย์แผนไทย

-

2

2

 

11

นักจัดการงานทั่วไป

-

1

1

 

12

เจ้าพนักงานพัสดุ

-

1

1

 

13

เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี

-

4

4

 

14

เจ้าพนักงานสาธารณสุข

1

2

3

 

 

รวมทั้งสิ้น

11

64

75

 

                                    ที่มา : โรงพยาบาลดอนสัก  ข้อมูล ณ วันที่  30 กันยายน 2563

โดยเทศบาลเมืองดอนสัก  ได้จัดตั้งศูนย์สุขภาพสี่พันครัวเรือน เพื่อเป็นศูนย์การส่งเสริมสุขภาพให้กับประชาชนในเขตเทศบาลเมืองดอนสัก มี อสม. แต่ละชุมชนผลัดเปลี่ยนมาปฏิบัติงานให้บริการประชาชนร่วมกับเจ้าหน้าที่ของเทศบาล อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าทียังไม่เพียงพอต่อการดำเนินงานเชิงรุก และยังขาดความพร้อมในการดำเนินการศูนย์สุขภาพที่เต็มรูปแบบและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

          2. สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดอนสัก ตั้งอยู่ชุมชนทางข้าม หมู่ที่ 5 ตำบลดอนสัก มีบุคลากรที่ให้คำแนะนำ ความรู้ และบริการด้านสาธารณสุข  ดังนี้

ลำดับ

บุคลากร

จำนวนบุคลากร ปี 2553

หมายเหตุ

 

 

ชาย

หญิง

รวม

 

1

ข้าราชการ

4

3

7

 

2

ลูกจ้าง/พนักงานราชการ 

-

-

-

 

 

รวมบุคลากรทั้งสิ้น

4

3

7

 

  ที่มา : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดอนสัก ข้อมูล  ณ วันที่ 2 มีนาคม 256                        ที่มา : สำนักงานสาธารณสุขอำเภอดอนสัก  ข้อมูล ณ วันที่  24 พฤษภาคม 256      

          4.3 อาชญากรรม/ยาเสพติด

ฐานความผิดคดีอาญา

ปี 2561

ปี 2562

ปี 2563

หมายเหตุ

รับแจ้ง (ราย)

จับกุม (ราย)

รับแจ้ง (ราย)

จับกุม (ราย)

รับแจ้ง (ราย)

จับกุม (ราย)

1. ความผิดเกี่ยวกับชีวิต ร่างกายและเพศ

   1.1 ฆ่าผู้อื่น

1

1

-

-

4

2

 

   1.2 ทำร้ายร่างกายผู้อื่น

        ถึงแก่ความตาย

-

-

-

-

1

1

 

   1.3 พยายามฆ่า

3

2

2

2

4

4

 

   1.4 ทำร้ายร่างกาย

8

8

15

13

3

3

 

   1.5 ข่มขืน

-

-

-

-

-

-

 

   1.6 อื่น ๆ

-

-

1

1

2

2

 

รวม

12

11

18

16

14

12

 

2. ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์

   2.1 ลักทรัพย์

12

12

13

13

12

12

 

   2.2 ฉ้อโกง

4

3

1

1

3

0

 

   2.3 ยักยอกทรัพย์

-

-

3

2

5

4

 

   2.4 วิ่งราวทรัพย์

1

1

-

-

1

1

 

   2.5 ทำให้เสียทรัพย์

1

1

-

-

2

2

 

รวม

18

17

17

16

23

19

 

3. ความผิดเกี่ยวกับ พ.ร.บ. ต่าง ๆ

   3.1 พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์

-

-

1

1

-

-

 

   3.2 พ.ร.บ.ป่าไม้

10

1

3

3

5

0

 

   3.3 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์

-

-

-

-

-

-

 

   3.4 พ.ร.บ.ป่าสงวน

-

-

-

-

-

-

 

   3.5 พ.ร.บ.คุ้มครองสัตว์ป่า

-

-

-

-

-

-

 

รวม

10

1

4

4

5

0

 

4. ความผิดที่รัฐเป็นผู้เสียหาย

   4.1 ยาเสพติด

295

-

366

-

402

-

 

   4.2 อาวุธปืน

60

-

62

-

66

-

 

   4.3 การพนัน

27

-

26

-

29

-

 

   4.4 หลบหนีเข้าเมือง

10

-

18

-

12

-

 

   4.5 การค้าประเวณี

-

-

2

-

-

-

 

   4.6 จับกุมเครื่องดื่ม

        แอลกอฮอล์

-

-

2

-

-

-

 

รวม

392

-

476

-

509

-

 

รวมทั้งสิ้น

432

29

515

36

551

31

 

 ที่มา : สถานีตำรวจภูธรดอนสัก ข้อมูล  ณ วันที่ 25 มีนาคม 2564

ที่มา : สถานีตำรวจภูธรดอนสัก  ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2563

5.ระบบบริการพื้นฐาน

     5.1 การคมนาคมขนส่ง

ปัจจุบันมีเส้นทางที่ประชาชนใช้ในการคมนาคมสัญจร ในเขตเทศบาล     ประกอบด้วย

-  ถนนดิน/ลูกรัง/หินบดอัด

จำนวน

13

สาย

ระยะทางรวม

  3,321.00

เมตร

-  ถนนลาดยาง/คสล.

จำนวน

62

สาย

ระยะทางรวม

31,526.00

เมตร

 

 จุดบริการสำหรับผู้ใช้เส้นทางการคมนาคม ทั้ง ทางก และทางน้ำ

รถตู้ปรับอากาศ  สายดอนสัก-บ้านดอน   จุดบริการถนนหน้าเมือง

-  รถประจำทาง (รถสองแถว)  สายดอนสัก-บ้านดอน  จุดบริการถนนหน้าเมือง

-  รถประจำทางปรับอากาศชั้น สายดอนสัก-กรุงเทพฯ  จุดบริการถนนหน้าเมือง

-  รถประจำทางปรับอากาศชั้น 1 VIP และ ชั้น 2 ของ บขส. จุดบริการถนนดอนสัก-บ้านใน (จุดพักรถประทางของ บขส.)

- ท่าเรือเอนกประสงค์ดอนสัก (แหลมทวด) เป็นท่าเรือของเทศบาล  บริการเรือด่วน  

- ท่าเรือราชาเฟอร์รี่ เป็นท่าเรือเอกชน  บริการเรือเฟอร์รี่ ดอนสัก-เกาะพะงัน

ดอนสัก-เกาะสมุย ให้บริการตั้งแต่เวลา  06.00-19.00

- ท่าเรือซีทรานเฟอร์รี่ เป็นท่าเรือเอกชน  บริการเรือเฟอร์รี่  ดอนสัก- เกาะสมุย  ให้บริการตั้งแต่เวลา  06.00-19.00 .

 

     5.2 การไฟฟ้า

เทศบาลเมืองดอนสัก มีหน่วยงานที่ให้บริการด้านไฟฟ้า  คือ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค 

ซึ่งมีประชาชน ที่รับบริการ   ดังนี้

ลำดับ

ชุมชน

หมู่ที่

ครัวเรือนที่ติดตั้งมิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้า

หมายเหตุ

1

ชุมชนเกาะแรต

3

308

ประชาชนมีกระแสไฟฟ้าใช้ทุกครัวเรือน โดยบางครัวเรือนขอใช้กระแสไฟฟ้าจากบ้านใกล้เคียง ประชาชนมีไฟฟ้าใช้ ครบทุกครัวเรือน

2

ชุมชนเทศบาล

5

 

3

ชุมชนทางข้าม

5

 

4

ชุมชนทองไมล์

5

2,018

5

ชุมชนบ้านคราม

5

 

6

ชุมชนโพธิ์ทอง

5

 

7

ชุมชนบางนางบน

5

 

8

ชุมชนท้องอ่าว

6

249

 

9

ชุมชนบ้านปากดอนสัก

7

262

10

ชุมชนบางน้ำจืด

8

280

สถิติตามการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า

11

ชุมชนก้าวเจริญ

9

131

 

รวม

 

3,248

 ที่มา  :  สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค สาขากาญจนดิษฐ์ (ข้อมูล  30 กันยายน 2563

     5.3 การประปา 

          การผลิตและการบริการด้านการประปาซึ่งประชาชนได้ใช้บริโภคในเขตเทศบาลเมืองดอนสัก นั้น 
อยู่ในการควบคุมดูแลให้บริการประชาชนของการประปาส่วนภูมิภาค  โดยมีแหล่งน้ำดิบที่นำมาผลิตน้ำประปา  จากน้ำตกวิภาวดี  ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านใน ตำบลปากแพรก  อำเภอดอนสัก  จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวนครัวเรือนของประชาชนที่บริโภคน้ำประปา  มีดังต่อไปนี้

ลำดับ

ชุมชน

หมู่ที่

จำนวนครัวเรือนที่ติดตั้งมาตรวัดน้ำประปา (หลัง)

หมายเหตุ

1

ชุมชนเกาะแรต

3 ตำบลดอนสัก

80

 

2

ชุมชนเทศบาล

5 ตำบลดอนสัก

800

 

3

ชุมชนทางข้าม

5 ตำบลดอนสัก

416

 

4

ชุมชนทองไมล์

5 ตำบลดอนสัก

303

 

5

ชุมชนบ้านคราม

5 ตำบลดอนสัก

717

 

6

ชุมชนโพธิ์ทอง

5 ตำบลดอนสัก

 131

 

7

ชุมชนบางนางบน

5 ตำบลดอนสัก

97

 

8

ชุมชนท้องอ่าว

6 ตำบลดอนสัก

182

 

9

ชุมชนบ้านปากดอนสัก

7 ตำบลดอนสัก

211

 

10

ชุมชนบางน้ำจืด

8 ตำบลดอนสัก

79

 

11

ชุมชนก้าวเจริญ

9 (ในเขตเทศบาลเมืองดอนสัก)

97

 

 

รวม

 

3,113

 

ที่มา : การประปาส่วนภูมิภาค สาขากาญจนดิษฐ์  ข้อมูล ณ วันที่ 23 สิงหาคม 2564    การประปาส่วนภูมิภาค สาขากาญจนดิษฐ์   ข้อมูล ณ วันที่  30  กันยายน  พ.ศ. 2563

 

     Ÿ   โทรศัพท์

          ปัจจุบันมีบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) สาขาดอนสัก  เป็นองค์กรที่ให้บริการโทรศัพท์พื้นฐานอินเตอร์เน็ตตามครัวเรือนของประชาชนที่ขอติดตั้ง ส่วนการติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะในปัจจุบันมีจำนวนลดลงเนื่องจากประชาชนจำนวนมากใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เป็นหลัก

 

     Ÿ   ไปรษณีย์หรือการสื่อสาร

          ปัจจุบันการบริการด้านการสื่อสารภายในเขตเทศบาล มีหน่วยงานที่ให้บริการในพื้นที่ จำนวน
1 หน่วยงาน คือ บริษัทไปรษณีย์ไทย จำกัด สาขาดอนสัก

 

6. ระบบเศรษฐกิจ

          เทศบาลเมืองดอนสัก เป็นศูนย์กลางของอำเภอดอนสัก  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการประมงและอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการประมง เพราะชุมชนมีที่ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลตลอดจนมีคลองขนาดใหญ่ที่ใช้เป็นสถานที่จอดเรือประมง นอกจากนั้นก็มีการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม  รับจ้างและค้าขาย ส่วน
ชาวต่างด้าวส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพรับจ้าง ตามสถานประกอบการแพปลา และเรือประมง และประชากรต่างถิ่นที่มาอาศัยอยู่ในพื้นที่ของเทศบาลเมืองดอนสักนั้น จะประกอบอาชีพรับราชการ ค้าขาย และประมง

          6.1 การเกษตร  เนื่องจากพื้นที่ทางด้านทิศตะวันออกของเทศบาลเป็นที่ราบเชิงเขา ซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูก  ประชาชนจึงมีอาชีพเกษตรกรรม  เช่น  ทำสวนผลไม้  สวนยางพารา  ฯลฯ

          6.2 การประมง  เทศบาลเมืองดอนสักเป็นเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก  และมีคลองดอนสักเป็นคลองขนาดใหญ่  ใช้สำหรับเป็นที่จอดพักเรือประมง  ประชาชนจำนวนมากจึงประกอบอาชีพประมง  ซึ่งทำให้มีสถานประกอบการแพปลาเกิดขึ้นมากมาย

           6.3 การท่องเที่ยว  พื้นที่ชุมชนเทศบาลเมืองดอนสัก มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ประกอบด้วย

                   1. วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์  เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอดอนสัก ตั้งอยู่ชุมชนทองไมล์ หมู่ที่ 5 ตำบลดอนสัก เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จหลายครั้ง ภายในวัดจะเป็นที่ตั้งของพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเป็นที่เคารพศักการะของประชาชน

                  2. คลองดอนสัก  เป็นลำคลองขนาดใหญ่ที่มีสภาพสองฝั่งคลองในช่วงปากคลองจะเป็นที่ตั้งของบ้านเรือนประชาชน และลึกเข้าไปตามลำคลองจะมีสภาพเป็นป่าชายเลนที่ยังอุดมสมบูรณ์

                 3. บ้านเกาะแรต เป็นชุมชนชาวประมงเชื้อสายจีน ซึ่งมีวิถีชีวิตแบบชาวจีนสภาพที่ตั้งชุมชนเป็นเกาะแต่ในปัจจุบันได้ก่อสร้างสะพานเชื่อมต่อกับถนนสายหลัก การเดินทางสะดวก

                4. ท่าเทียบเรือเอนกประสงค์แหลมทวด เป็นจุดเหนือสุดของเทศบาลเมืองดอนสัก เป็นจุดชมทิวทัศน์ริมฝั่งทะเลที่สวยงาม

               5. วังหิน เป็นสวนป่าที่ได้ก่อสร้างสัญลักษณ์จังหวัดต่างๆทั่วประเทศ สามารถใช้เป็นสถานศึกษาและเป็นแหล่งเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี อากาศร่มรื่นเย็นสบายเนื่องจากอยู่ติดกับทะเล

                 6. พิพิธภัณฑ์ปลาหิน  ปัจจุบันตั้งอยู่ริมถนนดอนสัก-ขนอม เป็นสถานที่ที่รวมหินแกะสลักเป็นปลาชนิดต่างๆ โดยภูมิปัญญาชาวบ้าน

อีกทั้งยังเมืองดอนสักยังเป็นเมืองหน้าด่านที่จะเดินทางไปถึงยังแหล่งท่องเที่ยว โดยมีท่าเทียบเรือ จำนวน 3 ท่า คือ ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ดอนสัก (แหลมทวด) ซึ่งเป็นท่าเรือภายใต้การบริหารของเทศบาลเมืองดอนสัก
และท่าเทียบเรือของเอกชน 2 ท่า คือ ท่าเทียบเรือบริษัท ราชาเฟอร์รี่ จำกัด และท่าเทียบเรือบริษัท
ซีทรานเฟอร์รี่  จำกัด และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจและมีชื่อเสียง ได้แก่ วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์
แหลมทวด คลองดอนสัก  เกาะแรต วังหิน  เป็นต้น  นอกจากนี้ยังมีกิจการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว  เช่น โรงแรม เกสต์เฮาส์  บังกะโล 

          6.4 อุตสาหกรรม  ในเขตเทศบาลเมืองดอนสัก มีโรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น บริษัท เอส อาร์ ที ฟู้ดส์ จำกัด  นอกจากนี้ยังมีสถานประกอบการแพปลาต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดการจ้างแรงงานเป็นจำนวนมาก  ทำให้ประชาชนได้ประกอบอาชีพรับจ้างและอาชีพเสริม เช่น แกะกุ้ง แกะปู ส่งโรงงาน เป็นต้น

          6.5 การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ  เทศบาลเมืองดอนสักเป็นศูนย์กลางของอำเภอดอนสัก เป็นสถานที่ตั้งของสถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และธนาคารพาณิชย์ที่สำคัญ จึงทำให้เป็นศูนย์กลางด้านการพาณิชย์ของอำเภอดอนสัก ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย  สินค้าพื้นเมืองที่สร้างชื่อเสียงให้กับเทศบาลเมือง
ดอนสัก  ได้แก่  ไตปลาแห้ง  กุ้งแห้ง กะปิ  ปลาเค็ม ฯลฯ  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์จากทะเล ซึ่งสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ในระดับหนึ่ง  

ข้อมูลสถานประกอบการและสถานบริการต่างๆ

ลำดับ

รายการ

จำนวน (แห่ง)

หมายเหตุ

1

ร้านจำหน่ายยาแผนปัจจุบัน

4

 

2

ร้านจำหน่ายเครื่องไฟฟ้า

4

 

3

ร้านจำหน่ายทอง/เพชร

4

 

4

ร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง

6

 

5

ร้านจำหน่ายเครื่องเขียน

8

 

6

ร้านจำหน่ายเสื้อผ้า

8

 

7

ร้านจำหน่ายอุปกรณ์ทางการเกษตร

4

 

8

ร้านจำหน่ายเครื่องสังฆภัณฑ์

3

 

9

ร้านถ่ายรูป

3

 

10

ร้านบริการคาร์แคร์

3

 

11

ร้านจำหน่ายรถจักรยานยนต์

3

 

12

ร้านจำหน่ายรถยนต์

1

 

13

ร้านจำหน่ายคอมพิวเตอร์/CD

2

 

14

ร้านจำหน่ายอุปกรณ์ประมง

6

 

15

ร้านจำหน่ายโทรศัพท์

7

 

16

ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง

6

 

17

ร้านจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์

3

 

18

ร้านจำหน่ายเครื่องใช้ราคาถูก

4

 

19

ร้านจำหน่ายสินค้าอื่นๆ

3

 

20

ร้านโชห่วย/จำหน่ายอาหารต่างๆ

104

 

21

โรงแรม/เกสท์เฮ้าส์

16

 

22

โรงงานอุตสาหกรรม

5

 

23

ร้านบริการอินเตอร์เน็ต

6

 

24

สถานีบริการน้ำมันและแก๊ส

5

 

25

สถานบริการและสถานบันเทิงคล้ายสถานบริการ

4

 

26

โต๊ะสนุกเกอร์/บิลเลียด

6

 

 

รวม

228

 

ที่มา : กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองดอนสัก  ณ วันที่  30 กันยายน 2563

 

          6.6 แรงงาน  ในเขตเทศบาลดอนสักมีแรงงานที่มาประกอบอาชีพ แบ่งเป็น  2  ประเภทใหญ่  คือ   

                         1) แรงงานในพื้นที่ ประมาณร้อยละ 60 เป็นชาวดอนสักเป็นชาวท้องถิ่นของอำเภอดอนสัก                       แรงงานภายนอก ประมาณร้อยละ 40 แบ่งเป็น 2 จำพวก ได้แก่ 

                      2.) แรงงานภายนอกที่เป็นคนไทย ซึ่งแรงงานจำพวกนี้จะเป็นคนต่างจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง และชาวอีสาน ที่เข้ามาประกอบอาชีพรับจ้างและค้าขาย  

                     3.) แรงงานต่างด้าว มีจำนวน 1,354 คนเป็นผู้ชาย 779 คนเป็นผู้หญิง 575 คน              ซึ่งมีจำนวนมากพอสมควรส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า  ประกอบอาชีพรับจ้างอยู่ในแพปลาต่าง ๆ  และเรือประมง 

7. ศาสนา ประเพณี วัฒนธรรม

          7.1 การนับถือศาสนา 

                    ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองดอนสักส่วนใหญ่  ร้อยละ  99.99  นับถือศาสนาพุทธ มีบางส่วนนับถือศาสนาอิสลามและศาสนาคริสต์  ซึ่งมีจำนวนน้อยมาก ในเขตเทศบาลเมืองดอนสักมีวัด จำนวน 3 แห่ง  ได้แก่                      

                    1.  วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์      ตั้งอยู่ชุมชนทองไมล์   หมู่ที่  5  ตำบลดอนสัก

                    2.  วัดท้องอ่าว                    ตั้งอยู่ชุมชนท้องอ่าว    หมู่ที่  6  ตำบลดอนสัก

                    3.  วัดวิสุทธิชลาราม             ตั้งอยู่ชุมชนบางน้ำจืด  หมู่ที่  8  ตำบลดอนสัก

 

          7.2 ประเพณีและงานประจำปี 

                   ประเพณีที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ดั้งเดิม ได้แก่

                   - ประเพณีแห่ผ้าขึ้นพระธาตุวัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ เป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ ของทุกปี เชื่อว่าผู้ที่ได้ร่วมในขบวนแห่งจะได้อานิสงค์หลายประการ

                   - ประเพณีตรุษจีน ถือศีลกินเจของบ้านเกาะแรต หมู่ที่ 3 เป็นกิจกรรมที่ชาวบ้านในชุมชนจัดขึ้นในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ ของทุกปี

                   - ประเพณีจบปีจบเดือนของหมู่บ้านท้องอ่าว เป็นกิจกรรมที่ชาวบ้านในชุมชนได้ร่วมกันจัดขึ้นในช่วงเดือนเมษายนของทุกปี

8. ทรัพยากรธรรมชาติ

     8.1 น้ำ

          ทรัพยากรน้ำในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองดอนสักถือเป็นปัจจัยที่สำคัญอย่างหนึ่งต่อการดำรงชีพของประชาชน เนื่องจากพื้นที่รับผิดชอบมีภูมิประเทศติดกับทะเลอ่าวไทย และบางส่วนเป็นผืนน้ำ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ของพื้นที่ทั้งหมด มีความยาวชายฝั่งประมาณ 19 กิโลเมตร ในพื้นที่รับผิดชอบ มีทรัพยากรน้ำที่สำคัญ ดังนี้

              1. ทะเลอ่าวไทย ที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งประชาชนใช้เป็นแหล่งทำการประมงชายฝั่ง

             2. คลองดอนสัก เป็นคลองขนาดใหญ่ที่ชาวประมงใช้เป็นที่ทอดเรือประมงและเป็นแนวคลองยาวเข้าสู่พื้นดิน ที่มีความอุดมสมบูรณ์ของป่าชายเลน

          3. ห้วยบางนาง เป็นลำห้วยด้านทิศตะวันออกไหลลงสู่คลองดอนสัก เป็นลำห้วยที่ไม่มีน้ำไหลตลอดปี ใช้ประโยชน์ในการเก็บกักน้ำและการระบายน้ำในช่วงฤดูมรสุม

          4. ห้วยปูขมเป็นลำห้วยด้านทิศตะวันออกในชุมชนบางน้ำจืด เป็นลำห้วยที่ไม่มีน้ำในช่วงหน้าแล้ง
ใช้ประโยชน์สำหรับการเก็บกักน้ำและระบายน้ำในช่วงฤดูมรสุม

 

     8.2 ป่าไม้

          พื้นที่รับผิดชอบของเทศบาลเมืองดอนสัก มีทรัพยากรป่าไม้อยู่เพียงบางส่วน  คือ ป่าชายเลนด้านทิศใต้ ซึ่งติดกับคลองดอนสัก เป็นป่าชายเลนที่ทอดยาวตามแนวลำคลอง เป็นแหล่งขยายพันธุ์ของสัตว์นานาชนิด

 

     Ÿ คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

          ทรัพยากรธรรมชาติทั้งทางทะเลและบนพื้นดิน ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา นับว่าถูกทำลายค่อนข้างมาก
ทั้งป่าชายเลนและทรัพยากรทางทะเล ในส่วนของทรัพยากรป่าไม้ ได้ดำเนินการคืนผืนป่าและได้ปลูกป่าโกงกาง จำนวนกว่า 1,000 ไร่ ในด้านทิศใต้ติดกับคลองดอนสัก ส่วนทรัพยากรทางทะเล ซึ่งเริ่มที่จะฟื้นฟูและมีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งจะเห็นได้จากฝูงโลมาสีชมพูที่ยังคงออกหากินในบริเวณทะเลริมฝั่งในเขตเทศบาลเมืองดอนสักเป็นประจำทุกวัน

9. อื่นๆ

9.1 เศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น

          Ÿ ข้อมูลด้านการเกษตร

                   การประกอบอาชีพด้านการเกษตรของประชาชนในชุมชน/หมู่บ้านในเขตเทศบาลเมืองดอนสัก ได้แก่ ทำสวนยาง สวนมะพร้าว และปลูกปาล์มน้ำมัน

 

 

          Ÿ ข้อมูลด้านแหล่งน้ำทางการเกษตร

                   พื้นที่ทำการเกษตรในเขตเทศบาลเมืองดอนสักประสบปัญหาเกี่ยวกับแหล่งน้ำธรรมชาติ เนื่องจากแหล่งน้ำธรรมชาติในเขตเทศบาลเมืองดอนสักแห้งแล้งไม่สามารถเก็บกักน้ำไว้ให้ประชาชนทำการเกษตรได้ ประชาชนในพื้นที่จึงแก้ปัญหาโดยการใช้น้ำประปา หรือน้ำจากบ่อที่ขุดขึ้นเองในพื้นที่ทำการเกษตรของ

 

          Ÿ ข้อมูลด้านแหล่งน้ำกินน้ำใช้ (หรือน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค)

                     1. น้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาค

                   2. น้ำประปาหมู่บ้าน

                   3. น้ำของเอกชน

9.2 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับโครงสร้างการจัดองค์กร และ ศักยภาพของเทศบาลเมืองดอนสัก

        เทศบาลเมืองดอนสักเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่จัดตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบล พ.ศ. 2542 และเป็นหน่วยงานที่มีการจัดส่วนราชการตามที่พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 บัญญัติไว้ เพื่อทำหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนด และการบริการประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบ โดยใช้รูปแบบการบริหารโดยนายกเทศมนตรี ซึ่งนายกเทศมนตรีมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง การแบ่งโครงสร้างส่วนราชการนั้น เทศบาลเมืองดอนสัก ได้คำนึงถึงภารกิจที่ต้องรับผิดชอบตามอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  พ.ศ. 2542 และเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนในการมารับบริการด้านต่าง ๆ จากเทศบาล  เทศบาลเมืองดอนสักแบ่งการบริหารออกเป็น 5 หน่วยงาน ได้แก่ 1) สำนักปลัดเทศบาล 2) กองคลัง 3) กองช่าง 4) กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม 5) กองสวัสดิการสังคม และ 6) กองการศึกษา โดยมีนายกเทศมนตรีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด
การบริหารงานของเทศบาลในการปฏิบัติภารกิจตามอำนาจหน้าที่

     

        โครงสร้างขององค์กรเป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่กำหนด ประกอบด้วย  3  ฝ่าย   ได้แก่

1) ฝ่ายบริหาร ประกอบด้วย นายกเทศมนตรี และรองนายกเทศมนตรี 3 คน เลขานุการนายกเทศมนตรี  2  คน และที่ปรึกษานายกเทศมนตรี 1 คน

2) ฝ่ายสภาเทศบาล ประกอบด้วย ประธานสภา 1 คน รองประธานสภา 1 คน และสมาชิกสภาเทศบาลอีก 16 คน รวมเป็น 18 คน

3) ฝ่ายพนักงานเทศบาล  ประกอบด้วย ปลัดเทศบาล พนักงานเทศบาล ลูกจ้าง และพนักงานจ้าง  โดยมี ปลัดเทศบาล  เป็นผู้บังคับบัญชา และมีบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในหน่วยงานต่างๆ ดังนี้

ส่วนราชการ

ข้าราชการ/พนักงานเทศบาล

ลูกจ้างประจำ

พนักงานจ้างตามภารกิจ

พนักงานจ้างทั่วไป

รวม

ปลัดเทศบาล

1

-

-

-

1

รองปลัดเทศบาล

1

-

-

-

1

สำนักปลัดเทศบาล

12

    1

9

8

30

กองคลัง

6

1

7

-

14

กองช่าง

7

-

4

7

18

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

4

3

8

16

31

กองสวัสดิการสังคม

3

-

-

-

3

กองการศึกษา

2

-

-

1

3

โรงเรียนอนุบาลเทศบาลเมืองดอนสัก

5

-

2

1

8

โรงเรียนเทศบาลดอนสัก 1 (วัดท้องอ่าว)

2

-

-

-

2

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองดอนสัก

1

-

3

-

4

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านปากดอนสัก

1

-

1

-

2

สถานธนานุบาลเทศบาลเมืองดอนสัก

5

-

-

-

5

รวมทั้งสิ้น

48

5

31

32

116

ที่มา : งานการเจ้าหน้าที่  เทศบาลเมืองดอนสัก  ข้อมูล ณ 9 มิถุนายน 2564