0
ระบบเศรษฐกิจ
เทศบาลเมืองดอนสัก เป็นศูนย์กลางของอำเภอดอนสัก ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการประมงและอาชีพที่เกี่ยวเนื่องกับการประมง เพราะชุมชนมีที่ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลตลอดจนมีคลองขนาดใหญ่ที่ใช้เป็นสถานที่จอดเรือประมง นอกจากนั้นก็มีการประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรม รับจ้างและค้าขาย ส่วน
ชาวต่างด้าวส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพรับจ้าง ตามสถานประกอบการแพปลา และเรือประมง และประชากรต่างถิ่นที่มาอาศัยอยู่ในพื้นที่ของเทศบาลเมืองดอนสักนั้น จะประกอบอาชีพรับราชการ ค้าขาย และประมง
๑. การเกษตร เนื่องจากพื้นที่ทางด้านทิศตะวันออกของเทศบาลเป็นที่ราบเชิงเขา ซึ่งเหมาะแก่การเพาะปลูก ประชาชนจึงมีอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำสวนผลไม้ สวนยางพารา ฯลฯ
๒. การประมง เทศบาลเมืองดอนสักเป็นเมืองชายฝั่งทะเลตะวันออก และมีคลองดอนสักเป็นคลองขนาดใหญ่ ใช้สำหรับเป็นที่จอดพักเรือประมง ประชาชนจำนวนมากจึงประกอบอาชีพประมง ซึ่งทำให้มีสถานประกอบการแพปลาเกิดขึ้นมากมาย
๓. การท่องเที่ยว พื้นที่ชุมชนเทศบาลเมืองดอนสัก มีสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ซึ่งเป็นที่รู้จักของประชาชนทั่วไป ประกอบด้วย
๓.๑ วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองของอำเภอดอนสัก ตั้งอยู่ชุมชนทองไมล์ หมู่ที่ 5 ตำบลดอนสัก เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และพระบรมวงศานุวงศ์เสด็จหลายครั้ง ภายในวัดจะเป็นที่ตั้งของพระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเป็นที่เคารพศักการะของประชาชน
๓.๒ คลองดอนสัก เป็นลำคลองขนาดใหญ่ที่มีสภาพสองฝั่งคลองในช่วงปากคลองจะเป็นที่ตั้งของบ้านเรือนประชาชน และลึกเข้าไปตามลำคลองจะมีสภาพเป็นป่าชายเลนที่ยังอุดมสมบูรณ์
๓.๓ บ้านเกาะแรต เป็นชุมชนชาวประมงเชื้อสายจีน ซึ่งมีวิถีชีวิตแบบชาวจีนสภาพที่ตั้งชุมชนเป็นเกาะแต่ในปัจจุบันได้ก่อสร้างสะพานเชื่อมต่อกับถนนสายหลัก การเดินทางสะดวก
๓.๔ ท่าเทียบเรือเอนกประสงค์แหลมทวด เป็นจุดเหนือสุดของเทศบาลเมืองดอนสัก เป็นจุดชมทิวทัศน์ริมฝั่งทะเลที่สวยงาม
๓.๕ วังหิน เป็นสวนป่าที่ได้ก่อสร้างสัญลักษณ์จังหวัดต่างๆทั่วประเทศ สามารถใช้เป็นสถานศึกษาและเป็นแหล่งเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี อากาศร่มรื่นเย็นสบายเนื่องจากอยู่ติดกับทะเล
๓.๖ พิพิธภัณฑ์ปลาหิน ปัจจุบันตั้งอยู่ริมถนนดอนสัก-ขนอม เป็นสถานที่ที่รวมหินแกะสลักเป็นปลาชนิดต่างๆ โดยภูมิปัญญาชาวบ้าน
อีกทั้งยังเมืองดอนสักยังเป็นเมืองหน้าด่านที่จะเดินทางไปถึงยังแหล่งท่องเที่ยว โดยมีท่าเทียบเรือ จำนวน 3 ท่า คือ ท่าเทียบเรืออเนกประสงค์ดอนสัก (แหลมทวด) ซึ่งเป็นท่าเรือภายใต้การบริหารของเทศบาลเมืองดอนสัก
และท่าเทียบเรือของเอกชน 2 ท่า คือ ท่าเทียบเรือบริษัท ราชาเฟอร์รี่ จำกัด และท่าเทียบเรือบริษัท
ซีทรานเฟอร์รี่ จำกัด และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจและมีชื่อเสียง ได้แก่ วัดเขาสุวรรณประดิษฐ์
แหลมทวด คลองดอนสัก เกาะแรต วังหิน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีกิจการที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว เช่น โรงแรม เกสต์เฮาส์ บังกะโล
๔. อุตสาหกรรม ในเขตเทศบาลเมืองดอนสัก มีโรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญ เช่น บริษัท เอส อาร์ ที ฟู้ดส์ จำกัด นอกจากนี้ยังมีสถานประกอบการแพปลาต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดการจ้างแรงงานเป็นจำนวนมาก ทำให้ประชาชนได้ประกอบอาชีพรับจ้างและอาชีพเสริม เช่น แกะกุ้ง แกะปู ส่งโรงงาน เป็นต้น
๕. การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ เทศบาลเมืองดอนสักเป็นศูนย์กลางของอำเภอดอนสัก เป็นสถานที่ตั้งของสถานที่ราชการ รัฐวิสาหกิจ และธนาคารพาณิชย์ที่สำคัญ จึงทำให้เป็นศูนย์กลางด้านการพาณิชย์ของอำเภอดอนสัก ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพค้าขาย สินค้าพื้นเมืองที่สร้างชื่อเสียงให้กับเทศบาลเมือง
ดอนสัก ได้แก่ ไตปลาแห้ง กุ้งแห้ง กะปิ ปลาเค็ม ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์จากทะเล ซึ่งสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ในระดับหนึ่ง
ข้อมูลสถานประกอบการและสถานบริการต่างๆ
ลำดับ |
รายการ |
จำนวน (แห่ง) |
หมายเหตุ |
๑ |
ร้านจำหน่ายยาแผนปัจจุบัน |
๔ |
|
๒ |
ร้านจำหน่ายเครื่องไฟฟ้า |
๔ |
|
๓ |
ร้านจำหน่ายทอง/เพชร |
๔ |
|
๔ |
ร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง |
๖ |
|
๕ |
ร้านจำหน่ายเครื่องเขียน |
๘ |
|
๖ |
ร้านจำหน่ายเสื้อผ้า |
๘ |
|
๗ |
ร้านจำหน่ายอุปกรณ์ทางการเกษตร |
4 |
|
๘ |
ร้านจำหน่ายเครื่องสังฆภัณฑ์ |
๓ |
|
๙ |
ร้านถ่ายรูป |
๓ |
|
๑๐ |
ร้านบริการคาร์แคร์ |
๓ |
|
๑๑ |
ร้านจำหน่ายรถจักรยานยนต์ |
๓ |
|
๑๒ |
ร้านจำหน่ายรถยนต์ |
๑ |
|
๑๓ |
ร้านจำหน่ายคอมพิวเตอร์/CD |
๒ |
|
๑๔ |
ร้านจำหน่ายอุปกรณ์ประมง |
๖ |
|
๑๕ |
ร้านจำหน่ายโทรศัพท์ |
๗ |
|
๑๖ |
ร้านจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง |
๖ |
|
๑๗ |
ร้านจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ |
๓ |
|
๑๘ |
ร้านจำหน่ายเครื่องใช้ราคาถูก |
๔ |
|
๑๙ |
ร้านจำหน่ายสินค้าอื่นๆ |
๓ |
|
๒๐ |
ร้านโชห่วย/จำหน่ายอาหารต่างๆ |
๑๐๔ |
|
๒๑ |
โรงแรม/เกสท์เฮ้าส์ |
๑๖ |
|
๒๒ |
โรงงานอุตสาหกรรม |
๕ |
|
๒๓ |
ร้านบริการอินเตอร์เน็ต |
๖ |
|
๒๔ |
สถานีบริการน้ำมันและแก๊ส |
๕ |
|
๒๕ |
สถานบริการและสถานบันเทิงคล้ายสถานบริการ |
๔ |
|
๒๖ |
โต๊ะสนุกเกอร์/บิลเลียด |
๖ |
|
|
รวม |
๒๒๘ |
|
ที่มา : กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองดอนสัก ณ วันที่ ๓๐ กันยายน ๒๕๖๓
๖ แรงงาน ในเขตเทศบาลดอนสักมีแรงงานที่มาประกอบอาชีพ แบ่งเป็น ๒ ประเภทใหญ่ คือ
1) แรงงานในพื้นที่ ประมาณร้อยละ ๖๐ เป็นชาวดอนสักเป็นชาวท้องถิ่นของอำเภอดอนสัก 2) แรงงานภายนอก ประมาณร้อยละ ๔๐ แบ่งเป็น ๒ จำพวก ได้แก่
2) แรงงานภายนอกที่เป็นคนไทย ซึ่งแรงงานจำพวกนี้จะเป็นคนต่างจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง และชาวอีสาน ที่เข้ามาประกอบอาชีพรับจ้างและค้าขาย
3) แรงงานต่างด้าว มีจำนวน ๑,๓๕๔ คนเป็นผู้ชาย ๗๗๙ คนเป็นผู้หญิง ๕๗๕ คน ซึ่งมีจำนวนมากพอสมควรส่วนใหญ่เป็นชาวพม่า ประกอบอาชีพรับจ้างอยู่ในแพปลาต่าง ๆ และเรือประมง